messager
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
สภาพทั่วไป
-37d49af24b24084d8.png
เทศบาลตำบลดอนมนต์ จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2555 โดยกระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมนต์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีสภาพเหมาะสม สมควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ประกอบมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมนต์ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลตำบลดอนมนต์ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล เทศบาลตำบลดอนมนต์ เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 12 ตำบล ของอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ทำการตั้งอยู่เลขที่ 11 หมู่ที่ 2 ตำบลดอนมนต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอสตึก ประมาณ 16 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน ตำบลดอนมนต์ มีพื้นที่ทั้งหมด 30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,750 ไร่ 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลดอนมนต์ พื้นที่ไม่ราบเรียบ ทางด้านตะวันออกมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 150 – 170 ฟุต ทางด้านตะวันตกจะเป็นที่ราบลุ่ม 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตเทศบาลไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 900 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 15 องศา 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 75% ดินลูกรังประมาณ 15% ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10% 1.5 ลักษณะแหล่งน้ำ มีลำตะโคงไหลผ่านตลอดปี เขตแบ่งตำบลดอนมนต์จะใช้ลำตะโคงเป็นเส้นแบ่งเขต มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค จำนวน 5 แห่ง แหล่งน้ำทั้ง 5 แห่งเคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเทศบาลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้ ลำห้วย 3 แห่ง ลำคลอง - แห่ง บึง - แห่ง แม่น้ำ - แห่ง หนองสระน้ำ 17 แห่ง บ่อน้ำตื้น 10 แห่ง บ่อบาดาล 10 แห่ง อ่างเก็บน้ำ - แห่ง ฝาย 13 แห่ง เหมือง - แห่ง อื่นๆ (ระบุ) - แห่ง 1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้ ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ เช่น สวนป่าจุฬาภรณ์ ป่าช้าบ้านห้วยลึก ป่าช้าบ้านละกอ 2. ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านดอนมนต์ กำนัน นายสาคร ไชยขวัญ หมู่ที่ 2 บ้านราษฎรพัฒนา ผู้ใหญ่บ้าน นายยอด ทองชิด หมู่ที่ 3 บ้านหนองแวงใต้ ผู้ใหญ่บ้าน นายลิขิต ประนินทา หมู่ที่ 4 บ้านห้วยลึก ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญล้อม นีระวัน หมู่ที่ 5 บ้านนาลาว ผู้ใหญ่บ้าน นายมานพ โสมกุล หมู่ที่ 6 บ้านละกอ ผู้ใหญ่บ้าน นางวรวุฒิ นาคกระแสร์ หมู่ที่ 7 บ้านกุดน้ำขุ่น ผู้ใหญ่บ้าน นายวุฒิพงศ์ วิเศษศรี หมู่ที่ 8 บ้านหนองลูกช้าง ผู้ใหญ่บ้าน นายแสนโฮม ประสาน หมู่ที่ 9 บ้านหนองแวง ผู้ใหญ่บ้าน นายพีระพงษ์ ไขแสงจันทร์ หมู่ที่ 10 บ้านโนนกลาง ผู้ใหญ่บ้าน นายสำราญ มาดไชสง 2.2 การเลือกตั้ง เทศบาลตำบลดอนมนต์ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลดอนมนต์ ทั้งเขตเทศบาลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น 2 เขต ดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วย บ้านหนองแวงใต้ ม.3 บ้านนาลาว ม.5 บ้านละกอ ม.6 บ้านกุดน้ำขุ่น ม.7 บ้านโนนกลาง ม.10 เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบไปด้วย บ้านดอนมนต์ ม.1 บ้านราษฎรพัฒนา ม.2 บ้านห้วยลึก ม.4 บ้านหนองลูกช้าง ม.8 บ้านหนองแวง ม.9 3. ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี) พ.ศ. ชาย หญิง รวม 2565 2,750 2,834 5,584 2566 2,725 2,818 5,543 2567 2,715 2,813 5,528 (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2567) ตำบลดอนมนต์ มีประชากรทั้งสิ้น 5,528 คน แยกเป็น ชาย 2,715 คน หญิง 2,813 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 184.27 คน/ตารางกิโลเมตร 4. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา - เทศบาลตำบลดอนมนต์ มีโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 3 โรงเรียน กับอีก 1 ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ - โรงเรียนชุมชนบ้านดอนมนต์ สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1-2 ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านราษฎรพัฒนา - โรงเรียนบ้านนาลาว สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1-2 และประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านนาลาว - โรงเรียนบ้านละกอ สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1-2 และประถมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้าน ละกอ - ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ กรมพัฒนาชุมชน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านราษฎรพัฒนา 4.2 การสาธารณสุข การบริการด้านสาธารณสุขของเทศบาลตำบลดอนมนต์ มีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านนาลาว ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การให้ภูมิคุ้มกันโรค การป้องกันโรค การระงับโรคติดต่อ และการวางแผนครอบครัว 4.3 อาชญากรรม - มีที่พักสายตรวจ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยลึก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่ 1 นาย โดยมีนายดาบตำรวจเป็นหัวหน้าสายตรวจ 4.4 ยาเสพติด ปัญหายาเสพติดในเขตเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรอำเภอสตึกได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดจำนวนมาก และยังได้ทำการจับกุมได้จำนวนมาก เนื่องมาจากได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 4.5 การสังคมสงเคราะห์ เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้ 1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ 2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ 4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง 5. ฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้ด้อยโอกาส 5. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมขนส่ง ปัจจุบันสามารถใช้เส้นทางในการขนส่งทางบกหมายเลข 219 ทางหลวงชนบทหมายเลข บร 3005 ทางหลวงท้องถิ่น บรถ 78-001 และการขนส่งทางอากาศโดยท่าอากาศยานอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 5.2 การไฟฟ้า การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือน คิดเป็น 99 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ เทศบาลจึงไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับถนน การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในและวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้ว และได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงเหตุผลเพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน 5.3 การประปา การประปา ประปาหมู่บ้านสามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือ มีข้อร้องเรียนเรื่องน้ำประปาขุ่นบ่อยครั้ง น้ำมีไม่เพียงพอใช้ตลอดปี สาเหตุเนื่องจากเป็นท่อประปาเก่าเกิดการตกตะกอนของน้ำ และไม่มีแหล่งในการผลิตน้ำประปา ประปาหมู่บ้านยังไม่สามารถที่จะผลิตเป็นน้ำประปาสำหรับบริโภคได้ ต้องใช้งบประมาณสูงมากในการดำเนินการ การแก้ปัญหาคือ การลงพื้นที่ดำเนินการแก้ไขตามจุดที่เกิดปัญหาในทันที โดยการบรรทุกน้ำไปแจกจ่าย การพิจารณาโครงการต่างๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้นั้น เช่น โครงการก่อสร้างโรงสูบจ่ายสารเคมีและเก็บสารเคมีการประปา ฯลฯ เทศบาลก็ได้นำบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อที่จะพิจารณาดำเนินการในปีต่อไป เมื่อมีงบประมาณและความจำเป็นก็สามารถดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนต่อไป 5.4 โทรศัพท์ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวเป็นส่วนใหญ่ 5.5 ระบบการขนส่ง มีที่ทำการไปรษณีย์ไทย สาขาย่อยจำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยลึก และการขนส่งเอกชน 2 แห่ง 6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่อ้อยเป็นหลัก ทำนา ทำสวนเป็นอาชีพรอง โดยมีการประกอบอาชีพเสริม คือการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั้งภาคเกษตร / นอกภาคเกษตร อาชีพค้าขายและรับราชการ สำหรับอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ การรับจ้างและการค้าขาย ซึ่งการรับจ้างเป็นการรับจ้างแรงงานภายในตำบลและตำบลใกล้เคียง สำหรับการค้าขายเป็นไปตามลักษณะการขายของเบ็ดเตล็ดภายในหมู่บ้าน ขายตามตลาดนัดภายในตำบล และตำบลใกล้เคียง 6.2 การประมง (ในเขตเทศบาลไม่มีการประมง) 6.3 การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ หนูนา จิ้งหรีด จำนวนสัตว์ในพื้นที่โดยประมาณ 6.4 การบริการ - 6.5 การท่องเที่ยว ในเขตเทศบาลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ 6.6 อุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลตำบลดอนมนต์ มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 2 โรงงาน เป็นโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าชีวะมวล และโรงงานผลิตปุ๋ย 1 โรงงาน ตั้งอยู่ ในเขตบ้านละกอ หมู่ที่ 6 6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ การพาณิชย์ ธนาคาร - แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 1 แห่ง บริษัท - แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า - แห่ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด - แห่ง ตลาดสด - แห่ง ร้านค้าต่างๆ 40 แห่ง ตลาดนัด 1 แห่ง ซุปเปอร์มาเก็ต 1 แห่ง โรงฆ่าสัตว์ - แห่ง กลุ่มอาชีพ มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 12 กลุ่ม 1. กลุ่มธนาคารปุ๋ย 2. กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 3. กลุ่มเลี้ยงผู้เลี้ยงโค 4. กลุ่มเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง 5. กลุ่มพัฒนาการเกษตร 6. กลุ่มเลี้ยงสุกร 7. กลุ่มกองทุนข้าวหอมมะลิ 8. กลุ่มเกษตรต้นแบบ 9. กลุ่มธนาคารหมู่บ้านโคกวัดนาลาว 10. กลุ่มธนาคารหมู่บ้านบ้านละกอ 11. กลุ่มธนาคารหมู่บ้านหนองแวงใต้ 12. กลุ่มสตรีทอผ้าไหม 6.8 แรงงาน ประชากรส่วนใหญ่ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะมีจำนวนน้อย เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทางการเกษตร ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ 7 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 7.1 การนับถือศาสนา - ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 วัด 4 แห่ง สำนักสงฆ์ 6 แห่ง - ผู้ที่นับถือศาสนาคริตส์ ร้อยละ 1 สำนักคริตส์ 1 แห่ง 7.2 ประเพณีและงานประจำปี ส่วนประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่นซึ่งเทศบาลตำบลดอนมนต์ จะดำเนินการจัดทำเป็นประจำทุกปี คือ - งานประเพณีลอยกระทง - งานประเพณีบุญข้าวจี่กุ้มข้าวใหญ่ - งานประเพณีสงกรานต์ - งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา - งานนมัสการพระธาตุฯ - งานประเพณีพะเวส - งานประเพณีดอกผ้า - งานประเพณีข้าวประดับดิน - งานประเพณีกฐิน - งานประเพณีคูนลาน - งานประเพณีบุญข้าวสาก - งานประเพณีออกพรรษา - งานประเพณีเข้ากรรม 7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตเทศบาลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ 90% พูดภาษาอิสาน 7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก (OTOP) ประชาชนในเขตเทศบาลได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่วยบ้าง ได้แก่ เสื่อที่ทอจากต้นกก ผ้าที่ทอจากผ้าฝ้ายและผ้าไหม เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่ 8. ทรัพยากรธรรมชาติ 8.1 น้ำ - แหล่งน้ำธรรมชาติ มีลำตะโคง จำนวน 1 สาย มีลำห้วยลึก จำนวน 1 สาย มีลำห้วยยาง จำนวน 1 สาย - แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย จำนวน 13 แห่ง บ่อน้ำตื้น จำนวน 10 แห่ง หนองสระน้ำ จำนวน 17 แห่ง -หนองละเวีย -หนองตาป๊อก -หนองไผ่น้อย -หนองหัวลิง -หนองบึง -หนองแวงใต้ -กุดหล่ม -สระประปากุดน้ำขุ่น -หนองโดน -สระน้ำหนองแวง -หนองไผ่ -หนองกวางเต๊ะ -กุดคล้า -หนองกระทิง -สระน้ำบ้านราษฎร์ -สระประปาบ้านละกอ -หนองตะกรุด 8.2 ป่าไม้ พื้นที่ป่าที่สำคัญ ได้แก่ สวนป่าจุฬาภรณ์ ป่าช้าบ้านห้วยลึก ป่าช้าบ้านละกอ 8.3 ภูเขา - 8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ของเทศบาลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ แหล่งน้ำในการเกษตรยังมีน้อย น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน เอกชน ปัญหาด้านขยะ เมื่อชุมชนแออัดขยะก็มากขึ้น